ประเภทของสำนวนไทย

ประเภทของสำนวนไทย
สำนวนไทย
 แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑.  ประเภทคล้องจอง
๒.  ประเภทเปรียบเทียบ
๓.  ประเภทซ้ำคำ
๑.  ประเภทคล้องจอง ประเภทนี้มีการเรียงคำเป็น ๔ คำ ๖ คำ และ ๑๐ คำ มีเสียงสัมผัส คล้องจอง ทำให้จำง่ายเเละไพเราะ
ตัวอย่าง สำนวนคล้องจอง
เรียง ๔ คำ มีสัมผัส          กว้างใหญ่ไพศาล          ก่อกรรมทำเข็ญ          เกิดดอกออกผล          เก็บหอมรอมริบ
          คอขาดบาดตาย            ครูบาอาจารย์             ฉกชิงวิ่งราว                ชำรุดทรุดโทรม
เรียง ๖ คำ มีสัมผัส 
           ขิงก็รา ข่าก็เเรง         ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา         ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน         ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
           นกมีหู หนูมีปีก           มือถือสาก ปากถือศีล            หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ฝน        สวยเเต่รูป จูบไม่หอม
เรียง ๘ คำ มีสัมผัส           กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง           ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะเเต่ง
           คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก                     เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก
เรียง ๑๐ คำ มีสัมผัส
           สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง      ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูเเม่
           น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา         มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว
๒.  สำนวนเปรียบเทียบ
สำนวนประเภทนี้มักจะมีคำตั้งแต่ ๓-๗ คำ โดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นการกล่าวถึงสิ่งหนึ่งเเทนอีกสิ่งหนึ่ง
ตัวอย่าง สำนวนเปรียบเทียบ
เรียง ๓ คำ ไม่มีสัมผัส
            เกลือจิ้มเกลือ            ก้างขวางคอ           กาคาบพริก            ขมเป็นยา
            ไข่ในหิน                    ถ่านไฟเก่า              เด็กอมมือ              ซนเหมือนลิง
เรียง ๔ คำ ไม่มีสัมผัส
            กระดี่ได้น้ำ                แกว่งเท้าหาเสี้ยน                 ใจเป็นปลาซิว
            ผักชีโรยหน้า            ช้าเหมือเต่าคลาน                  หวังน้ำบ่อหน้า 
เรียง ๖-๗ คำ ไม่มีสัมผัส
            กว่าถั่วจะสุก งานก็ไหม้                 นิ้วไหนร้าย ตัดนิ้วนั้น                  ตำน้ำพริกละลายเเม่น้ำ
            ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า               นกน้อยทำรังแต่พอตัว                เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า
๓.  ประเภทคำซ้ำ สำนวนประเภทนี้มีการเรียงคำ ๔ คำ คำที่ ๑ จะซ้ำกับคำที่ ๓
ตัวอย่าง สำนวนที่ซ้ำกัน
             กินนอกกินใน           ข้ามหน้าข้ามตา           เข้าด้ายเข้าเข็ม            คงเส้นคงวา
             กินบ้านกินเมือง       ต่อปากต่อคำ               ตัวใครตัวมัน                เต้นเเร้งเต้นกา
* การใช้สำนวนไทยนั้น ต้องศึกษาและพิจารณาให้เเจ่มเเจ้ง แล้วนำไปใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับเรื่อง ถ้านำสำนวนมาใช้ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่ได้ความหมายที่ต้องการเเล้ว ยังทำให้สำนวนนั้นหมดคุณค่า และเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ ยังไม่ควรใช้สำนวนพร่ำเพรื่อ หรือมากจนเกินไปด้วยล













ที่มาhttp://www.trueplookpanya.com/learning/detail/2427

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น